Absorption Chiller
หลักการทำงานของเครื่อง หลักการพื้นฐานของเครื่องนี้คือการถ่ายเทความร้อนของสารทำความเย็นที่เป็นน้ำ และการเคลื่อนที่ของสารทำความเย็นในจุดที่แรงดันต่างกัน โดยมีการระเหยของน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100oC ซึ่งสามารถทำได้โดยระบบจะต้องอยู่ในภาชนะความดันต่ำกว่าบรรยากาศและรักษาความดันภายในภาชนะให้เป็นสูญญากาศที่คงที่ตลอดเวลา
ตามหลักฟิสิกส์ ความดันอากาศที่พื้นราบที่ความดันอากาศปกติเรียกว่า ความดัน1 บรรยากาศ มีค่าเทียบเท่า 760mmHg น้ำจะเดือด(กลายเป็นไอน้ำ) ที่ +100oC แต่ที่ยอดเขา ความดันจะต่ำกว่าพื้นราบ (<760mmHg) เพราะแรงกดอากาศน้อยกว่า กล่าวคือที่ความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ น้ำจะสามารถเดือดได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า +100oC จากหลักการนี้ เครื่อง Absorption Chiller ต้องการให้น้ำเดือดที่ +5oC จึงต้องทำให้ความดันอากาศภายในเครื่องอยู่ที่ 6.5mmHg
กระบวนการการผลิตน้ำเย็นจากเครื่อง Absorption Chiller
ในเครื่อง Absorption Chillerแบ่งเป็น 4 ห้องคือ
1.Generator: ความร้อนที่แปรสภาพจาก Heat Waste (5) ถูกให้กับสารละลาย LiBr (1) เกิดการระเหยของ Refrigerant (น้ำ)และทำให้สารละลายLiBrเข้มข้นตลอดเวลา
2.Condenser: ไอน้ำจากห้อง Generator (1) ไหลมาสู่ห้อง Condenser (2) และกลั่นตัวลงมาเป็นหยดน้ำโดยอาศัยการคายความร้อนให้กับท่อน้ำเย็นหมุนเวียนจาก Cooling Tower (6)
3.Evaporator: น้ำในสภาพของเหลวจาก Condenserจะไหลไปสู่ห้อง Evaporator และเกิดการเป็นไอน้ำทันทีเมื่อเข้าสู่ห้อง Evaporator (Flashing) เนื่องจากความดันอากาศภายใน Evaporator ต่ำมาก ( 6.5 mmHg) ทำให้จุดเดือนของน้ำต่ำมากด้วย น้ำบางส่วนที่ไม่ทันได้เกิดการ Flashing จะไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับท่อน้ำเย็น 12oC ที่หมุนเวียนจากเครื่องส่งลมเย็น (7) และระเหยกลายเป็นไอน้ำไหลไปสู่ ห้อง Absorber ส่วนน้ำ 12oC นั้น ผลจากการแลกเปลี่ยนความร้อนจะมีอุณหภูมิลดลงเหลือประมาณ 7oC ตามที่ออกแบบ และหมุนเวียนไปใช้ในกระบวนการให้ความเย็นต่อไป(7)
4.Absorber: เป็นห้องที่สารดูดความชื้นจับตัวกับไอน้ำที่ระเหยมาจากห้อง Evaporator แล้วกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวโดยคายความร้อนให้กับท่อน้ำหมุนเวียนจากระบบCooling Tower (6) และกลายเป็น LiBrเจือจาง ปั้มจะสูบสารละลาย LiBrเจือจางกลับไปยังห้อง Generator (1) ทำให้ LiBr กลับมาเข้มข้นอีกครั้ง
ประเภทของเครื่อง Absorption Chiller ที่เลือกใช้ในโครงการประหยัดพลังงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามแหล่งพลังงานความร้อนที่ให้แก่สารละลาย LiBr
1. เครื่อง Absorption Chiller แบบขับเคลื่อนด้วยน้ำร้อน
2. เครื่อง Absorption Chiller แบบขับเคลื่อนด้วยไอน้ำ
3. เครื่อง Absorption Chiller แบบขับเคลื่อนด้วยลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องจักรโดยตรง
4. เครื่อง Absorption Chiller แบบขับเคลื่อนด้วย แก๊ส NGV หรือ LPG
Absorption Chiller